โรคเครียดลงกระเพาะ

อาการโรคเครียดลงกระเพาะ

อาการโรคเครียดลงกระเพาะ เป็นภาวะที่เกิดจากความเครียดที่สะสมมาอย่างยาวนาน จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดจากชีวิต  ความเครียดที่เกิดจากการทำงาน การเรียน หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น  ซึ่งเรามักได้ยินอยู่บ่อย ๆ ที่มีผู้คนมากมายในปัจจุบันมีอาการเครียดลงกระเพาะ มักมีอาการปวดท้อง อาเจียนอยู่บ่อย สาเหตุก็มาเกิดจากความเครียดสะสมทั้งนั้น ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำหรือนำรายละเอียดไปใช้เพื่อสามารถตั้งรับในการเกิดโรคเครียดลงกระเพาะได้เป็นอย่างดี

สาเหตุของการเกิดโรคเครียดลงกระเพาะ

สาเหตุของการเกิดโรคเครียดลงกระเพาะ สาเหตุหลัก ๆ นั่นก็คือเกิดจากความเครียดที่สะสมเป็นเวลานาน เพราะเมื่อเรารู้สึกเครียด ระบบประสารทจะมีการกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนที่มีชื่อว่า ฮอร์โมนอดรีนาลีน ในปริมาณที่มากจนเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และยังเป็นการกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมาเกินความจำเป็น จนทำให้กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองขึ้นและลำไส้เกิดการหดตัวมากกว่าปกติ เป็นการสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

อาการของโรคเครียดลงกระเพาะ

  1. อาการของโรคเครียดลงกระเพาะปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่ และทำให้เกิดอาการท้องอืดและมวนท้องร่วมด้วย
  2. มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังจากการรับประทานอาหารทุกครั้ง เนื่องจากกระเพาะอาหารมีการอักเสบและเป็นแผลจึงทำให้ลำไส้เกิดอาการบิดตัวและเกิดอาการดังกล่าวขึ้น
  3. มีอุจจาระผิดปกติซึ่งในบางคน อัดถ่ายอุจจาระมากกว่าวันละ 3 ครั้ง ถึงบางคนอาจถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์มักจะมีอาการเหมือนกับ อุจจาระไม่สุดอยู่เสมอและอาจต้อง ได้รับการแบ่งถ่ายมากกว่าปกติ

ความเครียดส่งผลต่อการระบบย่อยอาหารอย่างไร

อวัยวะในระบบของทางในระบบการย่อยอาหาร เป็นส่วนที่มีความอ่อนไหวและมีเส้นประสาทเป็นจำนวนมาก จึงเป็นสาเหตุส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทเหล่านี้ ทำให้สั่งการให้เลือดไหลเวียนช้าลง และการทำงานของกล้ามเนื้อในระบบย่อยอาหารทำงานแย่ลงได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบอื่น ๆตามมาดังต่อไปนี้

  1. เกิดการหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยอาหารน้อยลง และส่งผลให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อยหรือเกิดอาการท้องอืดได้
  2. ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้น้อยลง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูก เนื่องจากการทำงานของลำไส้ใหญ่ ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น
  4. มีอาการแสบร้อนกลางหน้าอกหรือที่เรียกว่ากรดไหลย้อน เนื่องจากการย่อยอาหารที่สามารถทำได้ไม่ดีและทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดอาหารได้มากยิ่งขึ้น มีแบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มเป็นจำนวนมากกว่าชนิดที่ดี  ซึ่งมีผลต่อการ ระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

การรักษาโรคเครียดในกระเพาะอาหาร

การรักษาโรคเครียดในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการสะสมความเครียดเป็นเวลานาน หากมีวิธีดูแลตนเองอย่างถูกวิธีก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยวิธีต่าง ๆดังนี้

  1. รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและครบ 3 มื้อ เพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารเคยชินกับการย่อยอาหาร และสามารถปล่อยน้ำย่อยออกมาในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

2.งดการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มชูกำลังและน้ำอัดลม เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้ กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบได้

  1. หยุดกินยาแอสไพริน ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เพราะยาเหล่านี้มีส่วนผสมของ สารสเตียรอยด์ มีฤทธิ์กระตุ้นให้กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาในบางชนิดให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เพื่อจะได้ไม่เกิดอันตรายขึ้นกับกระเพาะอาหารของเราได้
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ออกมาทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสบายใจ ถือเป็นการช่วยลดความวิตกกังวลใจได้เป็นอย่างดี และลดความตึงเครียดได้ดีเลยทีเดียว
  3. ระบายความเครียดออกมาให้ผู้อื่นฟังบ้าง เพราะการเล่าความเครียดให้ผู้อื่นฟังนั้น ถือเป็นการ ช่วยระบายความเครียด ได้เป็นอย่างดี หากมีความเครียดที่เกิดจากการ คิดถึงอดีตมากจนเกินไป หรือคิดถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ให้มีสติและหมั่นดึงจิตใจให้กลับมา อยู่กับปัจจุบันและยอมรับความจริง เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบ
  4. กิจกรรมต่าง ๆที่สามารถทำให้คลายเครียดได้ซึ่งสามารถทำได้มากมายหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายการอ่านหนังสือหรือ การทำสมาธิ หากมีการทำกิจกรรมเหล่านี้อยู่เป็นประจำ จะช่วยลดความตึงเครียดลงได้เป็นอย่างมากซึ่งสามารถช่วยทำให้รักษาโรคกระเพาะอาหาร เนื่องจากความเครียดให้หายขาดได้อีกด้วย

สมุนไพรไทยช่วยบรรเทาอาการโรคเครียดลงกระเพาะ

  1. ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงในด้านของการเจริญอาหาร ช่วยลดอาการท้องอืดจุกเสียด สามารถช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อน โรคกระเพาะและช่วยแก้ปัญหา ท้องอืด ท้องเฟ้อได้เป็นอย่างดี ในเวลาที่เครียดแล้วมีอาการปวดท้อง สามารถรับประทานขมิ้นแบบแคปซูลจะช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สารสกัดจากขมิ้นชันยังได้รับการจดทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบันที่มีสรรพคุณ ในการแก้อักเสบ และช่วยแก้ปัญหาปวดเข่าได้เป็นอย่างดี

  1. ลูกยอ

สมุนไพรไทยที่มีรูปร่างแปลกตาที่มีสรรพคุณในการช่วยบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารบีบตัวและไล่อาหารลงไปได้ด้วยดี ทำให้หูรูดแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จึงมักนิยมใช้ลูกยอในการ แก้โรคกรดไหลย้อนยังมีสรรพคุณช่วยลดการ อักเสบและช่วยการย่อยอาหารและช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ได้ดีเลยทีเดียวและในบางคนนิยมรับประทานน้ำลูกยอ ร่วมกับขมิ้นชันเพื่อให้ผลการออกฤทธิ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น

  1. หัวไช้เท้า

หลายคนนิยมนำหัวไชเท้ามาทำน้ำซุป และยังไม่รู้ว่าหัวไชเท้านั้น สามารถนำมาทำน้ำหัวไชเท้าโดยการคั้นสด มีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหารเป็นอย่างมาก มีสรรพคุณในการลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารลดอาการอักเสบ มีระบบภูมิคุ้มกันและที่สำคัญสามารถรักษาริดสีดวงทวาร นำหัวไชเท้าไปคั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำ นำมาดื่มก่อนนอนคืนละ 1 แก้ว สามารถลดการอักเสบของริดสีดวงทวารได้เป็นอย่างดี

  1. กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีโปแตสเซียมสูงบำรุงสมองลดอาการตึงเครียดได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญสรรพคุณ ของกล้วยน้ำว้า ยังช่วยรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย โดยการนำกล้วยน้ำว้าดิบมาตากแห้งหรือนำไปอบจากนั้นนำ กล้วยที่ได้รับการตากแล้วมาบดให้เป็นผง แล้วนำไปชง จะช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะได้เป็นอย่างดี