การฉีดฮอร์โมน

การแปลงเพศหญิงให้กลายเป็นชายนอกจากการฉีด ฮอร์โมนแล้วสามารถทำได้อีกกี่วิธี

ปัจจุบันมนุษย์คนเรามีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายโดยเฉพาะผู้หญิงอยากเป็นชาย ชายอยากเป็นผู้หญิงจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถทำได้โดยการฉีด ฮอร์โมน ซึ่งการเพิ่มฮอร์โมนในร่างกายก็มีหลายรูปแบบให้คุณได้เลือกใช้ แต่จะมีแบบไหนบ้างเราไปดูรายละเอียดพร้อมกันในบทความนี้กันเลย

การแปลงเพศหญิงให้เป็นชายมีกี่วิธี?

ฮอร์โมนที่เปลี่ยนเพศหญิงให้เป็นชายได้นั้นคือ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือ เทสโทสเธอโรน (Testosterrone) ที่ใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงสรีระหญิงให้เป็นชายนั้น ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบฉีด แบบรับประทาน แบบทา และแบบพลาสเตอร์ ฮอร์โมนแต่ละแบบจะมีความแตกต่างในความสะดวกในการใช้งาน และระยะเวลาการออกฤทธิ์แตกต่างกัน ดังนี้

1. ฮอร์โมนแบบฉีด

ข้อดี: ออกฤทธิ์เร็ว สามารถปรับลดระดับการรับฮอร์โมนได้ตามต้องการ หากน้อยเกินไป หรือสูงเกินไป

ข้อเสีย: ต้องไปโรงพยาบาลบ่อย เจ็บตัวจากการฉีดยา มีทั้งยาฉีดที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น (ฉีดทุก 2-4สัปดาห์) แต่ต้องมารับฮอร์โมนตามกำหนดเพราะโดยทั่วไปฮอร์โมนจะออกฤทธิ์สูงสุดภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังฉีด ฮอร์โมน และฤทธิ์จะค่อย ๆ ตกลง ดังนั้นถ้าเลยกำหนดมาฉีดฮอร์โมนเพิ่ม ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะตกลงทำให้การกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงสรีระชะงักได้

ส่วนยาฉีดที่ออกฤทธิ์ระยะยาว (ฉีดทุก 3 เดือน) จะออกฤทธิ์แบบค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแล้วจึงลดลง ข้อดีคือ ไม่ต้องมาฉีดฮอร์โมนบ่อย แต่จะปรับลดระดับฮอร์โมนไม่ดีเท่ายาฉีดที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น

2. ฮอร์โมนแบบรับประทาน

ข้อดี: สะดวก ไม่เจ็บตัว สามารถรับประทานได้เอง ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล

ข้อเสีย: ออกฤทธิ์ระยะสั้นจึงต้องรับประทานต่อเนื่องทุกวัน เพราะถ้าลืมรับประทานยา ระดับฮอร์โมนจะตกลง ส่วนราคาฮอร์โมนแบบรับประทานถือว่า ไม่ถูกไปกว่ายาฉีดเพราะต้องรับประทานบ่อยและรับประทานเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้การรับประทานฮอร์โมนยังมีผลต่อตับและเห็นผลการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ “ช้ากว่า” การใช้ฮอร์โมนแบบอื่น

3. ฮอร์โมนแบบทา

ข้อดี: สะดวก ไม่เจ็บตัว ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล

ข้อเสีย: ออกฤทธิ์ระยะสั้นมากเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น ต้องทาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่มีขนปกคลุมเพื่อให้ฮอร์โมนแทรกซึมลงสู่ผิวหนังและออกฤทธิ์ได้ดี เช่น ท้อง หัวไหล่ ท้องแขนด้านใน หลังทาเจลฮอร์โมนยังต้องรอให้เจลแห้งก่อนสวมใส่เสื้อผ้า เพื่อป้องกันการเลอะเทอะ

ส่วนราคาฮอร์โมนแบบทาถือว่า “สูง” เพราะต้องใช้ยาทุกวัน

4. ฮอร์โมนแบบพลาสเตอร์

ข้อดี: สะดวก ไม่เจ็บตัว ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล

ข้อเสีย: ออกฤทธิ์ระยะสั้นมากเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น ต้องปิดพลาสเตอร์ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่มีขนปกคลุมเพื่อให้ฮอร์โมนแทรกซึมลงสู่ผิวหนังและออกฤทธิ์ได้ดี เช่น ท้อง หัวไหล่ ท้องแขนด้านใน ด้านในต้นขา

ส่วนราคายาฮอร์โมนแบบพลาสเตอร์ถือว่า “สูง” เพราะต้องใช้ยาทุกวัน และยังไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม การจะใช้ฮอร์โมนแบบไหนนั้นควรให้สูตินรีแพทย์เป็นผู้วางแผนเพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่ดี และเหมาะสม ปลอดภัยกับสภาพร่างกาย วัยของผู้เข้ารับบริการ ไม่ควรเทคฮอร์โมนด้วยตนเอง หรือหาซื้อฮอร์โมนที่วางขายตามท้องตลาด หรือช่องทางออนไลน์มาใช้เองด้วยปราศจากคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์ หรือแพทย์

แปลงเพศหญิงเป็นชาย ต้องใช้ฮอร์โมนชนิดใด?

การใช้ฮอร์โมนเพศชาย หรือการรับฮอร์โมนเพศชาย หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ จะใช้ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือ โทสเธอโรน (Testosterrone) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อไปนี้

ลดทอน หรือกำจัดฮอร์โมนเพศที่มีอยู่เดิม อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายจะลดประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญลง ทำให้รังไข่ผลิตไข่น้อยลง ไข่จึงตกน้อยลง ๆ ประจำเดือนจะเริ่มขาดและค่อย ๆ หายไป

กระตุ้น หรือเสริมฤทธิ์ฮอร์โมนเพศตรงข้าม อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายจะกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระคล้ายเพศชายมากขึ้น เช่น มีขน หนวด เครา เพิ่มมากขึ้น เสียงใหญ่ขึ้น สะโพกผายลดลง กล้ามเนื้อแข็งแรงและเติบโตมากขึ้น สะโพกผายลดลง

อย่างไรก็ตาม การตอบสนองของร่างกายต่อฮอร์โมนเพศชายนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล แต่ละเชื้อชาติ และแต่ละพันธุกรรม แต่โดยทั่วไปหากใช้ฮอร์โมนเพศชายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจะสามารถเห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสรีระได้ หลังฉีดฮอร์โมนเพศอย่างถูกวิธีต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป