รูปกระเพาะอาหาร

รูปกระเพาะอาหาร

ระบบทางเดินอาหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารนั้นคือกระเพาะอาหาร โดยรูปกระเพาะอาหาร จะตั้งเฉียงอยู่บริเวณตำแหน่งลิ้นปี่ และบริเวณสะดือ ครอบคลุมไปถึงบริเวณชายโครงซ้าย และใต้กะบังลม ซึ่งระบบทางเดินอาหารจะทำหน้าที่ในการบดย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานในการดำเนินกิจกรรมของเซลล์ โดยทางเดินอาหารจะประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นช่องทางเดินอาหารจากปากสู่ทวารหนัก และอวัยวะอื่น ๆ ที่มีบทบาทร่วมในการย่อยอาหาร เช่น ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ช่องทางเดินอาหารทั้งหมด ประกอบด้วย ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก

อวัยวะในระบบทางเดินอาหาร

  • ช่องปาก (Mouth cavity)

เริ่มต้นจากปาก เมื่อคุณเริ่มเคี้ยวอาหาร ฟันจะทำหน้าที่บดอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก เพื่อให้ง่ายต่อการกลืนต่อมน้ำลายจะทำหน้าที่ผลิตน้ำลายออกมาเพื่อผสมกับอาหารเพื่อให้ง่ายต่อการกลืน และเคลื่อนผ่านไปยังส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • กระเพาะอาหาร (Stomach)

ในกระเพาะอาหารจะมีสภาวะเป็นกรด ซึ่งเอื้อต่อการทำงานของเอนไซม์หรือน้ำย่อย โดยอาหารจำพวกโปรตีนจะถูกย่อยที่กระเพาะอาหารมากที่สุดด้วยเอนไซมม์เพปซิน เมื่ออาหารเคลื่อนตัวมายังรูปกระเพาะอาหารก้อนอาหารจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารเกิดการเคลื่อนไหว เพื่อเป็นการคลุกเคล้าอาหารให้ทำผสมกับน้ำย่อยที่หลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ

  • ตับอ่อน (Pancreas)

ตับอ่อนจะมีหน้าที่ย่อยอาหารจำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน น้ำย่อยที่ผลิตโดยตับอ่อนจะลำเลียงผ่านท่อมาสู่ทางเดินอาหารที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

  • ตับ (Liver)

ในระบบทางเดินอาหารตับจะทำหน้าที่ผลิตน้ำดีออกมาเพื่อช่วยในการย่อยไขมันและวิตามินบางชนิด โดยน้ำดีที่สร้างจากตับจะเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีและลำเลียงเข้าสู่ทางเดินอาหารบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น

  • ถุงน้ำดี (Gallbladder)

ถุงน้ำดี จะทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีที่ผลิตออกมาจากตับ และปล่อยน้ำดีเข้าสู่ทางเดินอาหารผ่านท่อน้ำดี เมื่อมีอาหารเคลื่อนผ่านมายังลำไส้เล็กส่วนต้น

  • ลำไส้เล็ก (Small intestine)

หน้าที่ของลำไส้เล็กคือผลิตน้ำย่อย และดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้ว สารอาหารทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน อาหารจะถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ภายในลำไส้เล็ก และในลำไส้เล็กยังมีแบคทีเรียบางชนิดที่จะมาทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต

  • ลำไส้ใหญ่ (Large intestine)

ภายในลำไส้ใหญ่จะประกอบไปด้วยน้ำและเกลือแร่รวมไปถึงวิตามิน ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตผ่านทางผนังลำไส้ โดยในลำไส้ใหญ่นี้จะไม่พบกระบวนการย่อยอาหาร จะมีเพียง กากอาหารต่างๆ ที่เหลือจากการย่อยจะถูกขับออกจากร่างกายทางทวารหนัก (Anus) ซึ่งจะมีแบคทีเรียเจ้าถิ่นที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ช่วยป้องกันเชื้อแปลกปลอมที่ปะปนมากับอาหาร รวมถึงช่วยรักษาสมดุลภายในลำไส้ให้อยู่ในสภาวะปกติ

รูปร่าง และลักษณะกระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร จะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณอาหารที่มีอยู่ภายในกระเพาะอาหาร ลักษณะรูปร่างของคน และตำแหน่ง ของร่างกาย ได้แก่

  • หากเป็นคนอ้วนตำแหน่งของกระเพาะอาหารจะอยู่ตามขวาง ส่วนคนผอมกระเพาะอาหารจะอยู่ตามยาว
  • หากอยู่ในท่านอนกระเพาะอาหารจะเคลื่อนสูงขึ้น แต่เมื่ออยู่ในท่ายืนกระเพาะอาหารจะเคลื่อนต่ำลง
  • ในขณะที่ยังไม่ได้รับประทานอาหารจะทำให้กระเพาะอาหารว่างลง ตัวกระเพาะอาหารก็จะหดตัวลง จึงทำให้รูปกระเพาะอาหารเหมือนเคียวหรือไส้กรอก แต่เมื่อกระเพาะอาหารได้รับอาหารเข้าไป กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารก็จะขยายตัวออกเพื่อรองรับอาหารให้จุได้มากขึ้น

โครงสร้างกระเพาะอาหาร

  • ชั้นนอก ทำหน้าที่ขับน้ำเมือกที่เคลือบกระเพาะอาหารและช่วยทำให้อาหารลื่น เป็นชั้นที่ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวกันที่หุ้มคลุมผิวนอกของชั้นกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารและเชื่อมติดกับเยื่อแขวนหุ้มกระเพาะ
  • ชั้นกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่เคลื่อนไหว คลายตัว และบีบรัดของกระเพาะอาหารในขณะที่มีการย่อยอาหาร ซึ่งจะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่เรียงตัวกัน 3 ชั้น คือ ชั้นในที่วางตัวในแนวเฉียง ชั้นกลางที่วางตัวเป็นวงล้อมรอบ และชั้นนอกที่วางตัวตามแนวยาวของกระเพาะอาหาร
  • ชั้นเยื่อเมือก ประกอบไปด้วยต่อมสร้างน้ำย่อย และสารช่วยในการย่อยพร้อมรูปเปิดของต่อม ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุดของผนังกระเพาะอาหาร
  • ชั้นใต้เยื่อเมือก ชั้นนี้จะทำหน้าที่ช่วยยึดระหว่างชั้นกล้ามเนื้อและชั้นเยื่อเมือกไว้ด้วยกัน โดยที่ชั้นนี้จะมีเส้นประสาทหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองมาเลี้ยงจำนวนมาก เป็นผนังส่วนที่ถัดจากชั้นเยื่อเมือกประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก

หน้าที่ของกระเพาะอาหาร

  • กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหารเพื่อการย่อยอาหาร ทั้งเชิงกลด้วยการบีบรัดตัว และเชิงเคมีจากปฏิกิริยาเคมีของกรดไฮโดรคลอริกร่วมกับเอนไซม์
  • กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่รองรับอาหารที่เคลื่อนตัวมาจากหลอดอาหาร
  • กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่หลั่งน้ำย่อยหรือเอนไซม์ในการย่อยอาหาร
  • ทำหน้าที่สร้างเมือกเคลือบผนังกระเพาะอาหารสำหรับป้องกันความเป็นกรด-ด่างที่อาจทำลายหรือย่อยผนังกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารได้
  • ช่วยกำจัดจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคที่ปนเปื้อนมากับอาหาร
  • รูปกระเพาะอาหาร ยังทำหน้าที่พักอาหารและเก็บสำรองอาหารให้เข้าสู่ร่างกายได้จำนวนมาก– เอนไซม์เปปซิน (pepsin) ที่ทำงานร่วมกับกรด
  • ทำหน้าที่ผลักอาหารให้เคลื่อนตัวเข้าสู่ลำไส้เล็ก ด้วยการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร
  • กระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารบางชนิดที่ดูดซึมได้ง่าย อาทิ แอลกอฮอล์ และน้ำ
  • และยังทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร ?

ส่วนใหญ่แล้วโรคกระเพาะอาหารมักเกิดจากการเสียสมดุลของกรดที่หลั่งออกมา แล้วไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยของโรคนี้เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง เมื่อเกิดความเครียด ความกังวล ซึ่งพบได้บ่อยในสังคมปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การรับประทานอาหาร การละเลยสุขภาพ ซึ่งการรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา หรือการอดอาหาร การรับประทานอาหารที่มีรสจัดเป็นประจำ การรับประทานยาแก้ปวดจำพวกแอสไพรินเป็นประจำก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรค คือ การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือเรียกย่อๆ ว่า เอชไพโลไร (Helicobacter pylori หรือย่อว่า H.pylori) มีการถ่ายทอดจากคนสู่คน จากการรับประทานอาหาร เชื้อจะเข้าสู่กระเพาะอาหารและเลื่อนเข้าสู่เซลล์เยื่อบุผิว ซึ่งเชื้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

และเมื่อเกิดเป็นโรคกระเพาะอาหารจะมีอาการปวดท้องแบบเป็น ๆ หาย ๆ บริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งมักจะปวดช่วงก่อนหรือหลังอาหารและมีอาการปวดแสบ จุกแน่น อาจมีอาการคลื่นไส้ เรอเปรี้ยว กรณีที่มีแผลบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นมักมีอาการปวดท้อง หลังอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง จะปวดมากขึ้นในช่วงบ่าย เย็น ตอนดึก อาการจะดีขึ้นทันทีหลังรับประทานอาหาร ดื่มนม รับประทานยาลดกรด

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษารูปกระเพาะอาหาร ซึ่งควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุหรี่ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากปฏิบัติได้ตามนี้ท่านจะมีโอกาสหายขาดจากโรคกระเพาะอาหารอย่างแน่นอน