กระเพาะอยู่ข้างไหน หลายคนอาจจะคิดว่าอาการปวดท้องของคนเราที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 ข้าง คือปวดท้องข้างขวา และปวดท้องข้างซ้าย โดยที่อาการปวดท้องนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบริเวณที่เกิดอาการสามารถบ่งบอกสาเหตุของโรคได้ชัดเจนขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเกิดจากโรคมะเร็ง โรคไต โรคปอด ลำไส้อักเสบ ท้องผูก เป็นต้น และวันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าหากผู้ป่วยปวดท้องด้านซ้ายร่างกายจะบอกถึงปัญหาสุขภาพอะไรได้บ้าง เมื่อเราทราบถึงสาเหตุและอาการจะได้มองหาวิธีการรักษาที่ถูกวิธีที่จะทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดีและไม่นำไปสู่โรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าถ้าปวดท้องด้านซ้ายจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง
ปวดท้องด้านซ้ายบน
อวัยวะสำคัญที่อยู่บริเวณช่องท้องด้านบนซ้ายนั้นจะประกอบไปด้วยกระเพาะอาหาร ตับ ม้าม ลำไส้ ตับอ่อน และไตซ้าย ซึ่งจะอยู่ใกล้กับหัวใจอีกด้วย ดังนั้นหากเกิดอาการปวดท้องด้านซ้ายบน หรืออาการปวดท้องด้านซ้ายใต้ซี่โครง อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้
- กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องและอุจจาระร่วงแบบเฉียบพลัน หรืออาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรืออาจมีอาการภาวะขาดน้ำร่วมด้วย เนื่องมาจากสาเหตุของการรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียเข้าไป โดยการรักษานั้นจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการใช้ยาเพื่อรักษาตามอาการ เช่น ยาช่วยย่อย ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
- แก๊สในกระเพาะอาหาร
หากมีอาการปวดท้องบริเวณด้านซ้ายบนจนทำให้เกิดอาการรู้สึกจุกเสียดแน่นท้อง และทำให้รู้สึกอึดอัด ซึ่งอาจมาจากการรับประทานอาหารจำพวกถั่ว บล็อกโคลี หรือเครื่องดื่มที่มีการอัดแก๊ส และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก็อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ในกรณีนี้สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาลดกรด หรือยาขับลม
- ท้องผูก
หากมีอาการปวดท้องบริเวณด้านซ้ายบนนั่นอาจบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังจะมีปัญหาในเรื่องของท้องผูกได้ เนื่องจากอุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ไม่สามารถเคลื่อนตัวไปตามลำไส้ใหญ่ได้
- ลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome)
หากมีอาการปวดท้องด้านซ้ายบนและมีอาการท้องเสียเรื้อรัง หรืออาจมีอาการท้องผูกอยู่เป็นประจำนั่นอาจทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวนเป็นอาการเรื้อรังที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของลำไส้ หรือเกิดจากการติดเชื้อบางชนิด โดยโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่ก็สามารถควบคุมอาการได้
- อาการม้ามโต (Splenomegaly)
ม้ามโตอาการที่เห็นได้ชัดคือ ม้ามจะขยายขนาดขึ้นทำให้ไปกดทับอวัยวะต่าง ๆ ทำให้รู้สึกปวดท้องด้านซ้าย ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส โรคลูคีเมีย และโรคตับแข็ง
- โรคหัวใจ
หากมีอาการปวดท้องด้านซ้ายบนนั้นเป็นหนึ่งในอาการเริ่มแรกของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันร่วมกับอาการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดบริเวณลิ้นปี่ ปวดที่รอบสะดือ หรือบริเวณใต้ชายโครง และท้องน้อย
- อาการปอดบวม (Pneumonia)
หากมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก มีไข้สูง มีอาการหนาวสั่น และมีอาการไออย่างรุนแรงร่วมด้วย ให้คิดไว้เลยว่าอาการปอดบวมกำลังถามหา โดยอาการปอดบวมนี้เกิดจากการติดเชื้อที่ทำให้ปอดบวมขยายตัวไปกดทับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงในซีกซ้ายของร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการปวดท้องด้านซ้ายบน กระเพาะอยู่ข้างไหน
ปวดท้องด้านซ้ายล่าง
ช่องท้องด้านซ้ายจะประกอบไปด้วยอวัยวะ ลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็ก และยังมีระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์อยู่ด้วย จึงทำให้อาการปวดท้องด้านซ้ายล่างเกิดได้จากทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย และระบบสืบพันธุ์ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย มีดังนี้
- การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และกรวยไตอักเสบ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องที่บริเวณด้านล่างข้างซ้าย ปัสสาวะติดขัด และรู้สึกปวดท้องน้อยขณะปัสสาวะ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามไปจนถึงไต และกลายเป็นโรคไตได้
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
โรคนี้จะพบได้บ่อยในผู้หญิง เป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ส่งผลให้ผู้หญิงมีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณด้านซ้ายล่างของท้อง
- ซีสต์ในรังไข่
สาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดบริเวณท้องด้านซ้ายล่างนั้นอาจทำให้เกิดโรคซีสต์ในรังไข่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหน่วง ๆ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย และประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งซีสต์ในรังไข่ไม่ใช่อาการที่อันตราย ไม่ทำให้กลายเป็นมะเร็งได้
- ไส้เลื่อน (Inguinal Hernia)
ไส้เลื่อนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยอาการไส้เลื่อนเป็นอาการที่เกิดจากการที่ลำไส้ไหลผ่านผนังช่องท้องไปกระจุกตัวอยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงได้
- โรคไต (Kidney Disorders)
โรคไตหรือไตอักเสบผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องด้านซ้ายล่างแบบเฉียบพลัน และจะมีความรู้สึกอยากปัสสาวะอยู่ตลอดเวลา มีอาการปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย
อาการปวดท้องกระเพาะอาหารมี 2 แบบ คือ
- ไม่มีแผลในกระเพาะอาหารแต่มีอาการปวดท้อง อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้
– เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เนื่องจากกระเพาะอาหารมีการบีบตัวช้า ส่งผลให้มีแก๊สในกระเพาะทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด และอาหารไม่ย่อย
– การหลั่งกรดที่มากกว่าปกติทำให้มีอาการปวดแสบว่างกว่าคนอื่น
– การรับรู้สิ่งกระตุ้นไวกว่าปกติ แม้มีกรดในกระเพาะอาหารที่เท่ากับคนอื่น แต่กลับมีอาการปวดท้องง่ายกว่าคนอื่น
– เมื่อร่างกายเกิดความเครียดก็จะหลั่งกรดออกมามากกว่าปกติ
– การรับประทานอาหารที่มีรสจัด รับประทานอาหารมากเกินไป และรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
- ปวดท้องเนื่องจากมีแผลในกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยจะรู้ว่ามีแผลในกระเพาะอาหารหรือไม่นั้นต้องใช้วิธีการตรวจด้วยการส่องกล้อง โดยสังเกตได้จากการที่มีภาวะซีดหรือมีอาการถ่ายอุจจาระที่มีสีดำ
หากมีอาการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จนส่งผลให้กระเพาะอาหารมีอาการอักเสบเรื้อรังจนทำให้มีอาการปวดท้องที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้มีโอกาสที่จะเกิดแผลมากกว่าปกติและมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารตามมา
กระเพาะอยู่ข้างไหน อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นควรที่จะหมั่นสังเกตว่ามีอาการเป็นอย่างไร ปวดมาก ปวดน้อย และมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดอาการควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้ไม่มีอาการของโรคอื่น ๆ ตามมา