ทำนม

ทำนม ให้เหมาะสมกับสรีระหน้าอกตัวเองจะช่วยสร้างความมั่นใจ

ทำนม เป็นศัลยกรรมที่ได้รับความนิยมมาก เพื่อความมั่นใจในรูปร่างที่สวยชวนมอง  เพื่อให้การทำนมเป็นไปอย่างราบรื่น ปลอดภัย ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดการเลือกซิลิโคนหน้าอก ให้เหมาะสมกับสรีระหน้าอกตัวเอง จะช่วยให้หน้าอกดูสวยงาม ธรรมชาติ และเข้ากับสรีระโดยรวมที่สุด เป็นการผ่าตัดศัลยกรรมใหญ่ จะทำโดยไร้มาตรฐานไม่ได้ ที่ได้รับความนิยมเพราะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจ เพิ่มสัดส่วนให้ดูสวยงาม ยิ่งในโลกแห่งการแข่งขันสูง นอกจากความสามารถต่าง ๆ แล้ว เรื่องรูปร่าง หน้าตา  ความมั่นใจนั้นก็มีความสำคัญ

รูปแบบการเสริมหน้าอกมีกี่รูปแบบ

วิธีการเสริมหน้าอกสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้

  1. การเสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมเทียม ( Breast implant only )
  2. การเสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมเทียม ร่วมกับการฉีดไขมันตนเอง ( Hybrid breast augmentation )
  3. การฉีดไขมันตนเอง เพียงอย่างเดียว (  Cell-assisted  lipoplasty   หรือ  CAL )

ผ่าตำแหน่งไหน แผลสวยกว่า ได้ผลดีกว่า

แผลจากการศัลยกรรมหน้าอก จะแบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่ง คือ รักแร้ ราวนม และปานนม ซึ่งแต่ละตำแหน่งก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  1. บริเวณรักแร้ การผ่าบริเวณนี้จะช่วยให้สามารถปกปิดรอยแผลได้อย่างแนบเนียน แต่อาจทำให้รู้สึกเจ็บมากกว่าแผลบริเวณอื่น เนื่องจากรอยแผลใกล้กับกล้ามเนื้อแขน
  2. บริเวณราวนม เป็นวิธีการผ่าตัดยอดนิยม เนื่องจากสามารถผ่าตัดได้ง่ายกว่าและจัดทรงง่ายกว่าการผ่าตัดในตำแหน่งอื่น แต่จะมีรอยแผลผ่าตัดที่บริเวณฐานเต้านมที่อาจมองเห็นได้ง่าย
  3. บริเวณปานนม หรือการผ่าตัดบริเวณรอยต่อของผิวสีเข้มและผิวสีอ่อนตรงหัวนมนั่นเอง เป็นการผ่าตัดที่สามารถซ่อนแผลได้ดีที่สุด แต่ก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง อาทิ ปานนมต้องมีขนาดกว้างพอ และขนาดของซิลิโคนต้องไม่ใหญ่มากนัก และในบางรายอาจจะมีอาการหัวนมชาหลังการผ่าตัดได้

ก่อนเสริมหน้าอก ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
  • เข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อม
  • แจ้งโรคประจำตัวและประวัติการใช้ยาก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

การทำนมเลือกทรงที่ใช่ มีชัยไปกว่าครึ่ง

ความสวยงามของหน้าอกไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดเท่านั้น แต่รูปทรงก็ต้องเหมาะกับรูปร่างและความต้องการของเราด้วย ซึ่งซิลิโคนจะมีอยู่ 2 ทรง คือ ทรงกลม และทรงหยดน้ำ

ซิลิโคนทรงกลม

เหมาะกับสาว ๆ ที่ต้องการเติมเต็มส่วนบนของเต้านมให้ดูอวบอึ๋มมากขึ้น หรือสาว ๆ ที่ต้องการแก้ไขความหย่อนคล้อยของเต้านม โดยทรงนี้จะมีความนุ่มและยืดหยุ่น ทำให้เวลานั่งหรือยืน เจลภายในของซิลิโคนจะไหลลงไปบริเวณส่วนล่าง จึงมีลักษณะคล้ายทรงหยดน้ำ แต่จะกลับคืนตัวในท่านอนเสมือนเต้านมธรรมชาติเลยทีเดียว

ซิลิโคนทรงหยดน้ำ

เมื่อเสริมเข้าไปแล้วหน้าอกของสาว ๆ ก็จะย้อยหน่อย ๆ คล้ายกับหยดน้ำ เหมาะกับคนที่มีปัญหาอกไก่ คือซี่โครงตรงกลางอกค่อนข้างนูน ทรงนี้จะช่วยเพิ่มวอลลุ่มบริเวณฐานล่างของเต้านม ช่วยยกหัวนมให้ตั้งขึ้น ให้อกสวยได้รูปมากขึ้น เหมาะกับสาว ๆ ที่มีหน้าอกเล็กหรือเต้านมตก ทำแล้วจะช่วยให้หน้าอกดูสวยเป็นธรรมชาติมากขึ้น

วิธีเลือกซิลิโคนให้เหมาะสมเลือกจากอะไร

การเลือกซิลิโคนที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยศัลยแพทย์จะใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และแนะนำในการเลือกชนิดและขนาดซิลิโคนที่เหมาะสม ได้แก่

  1. ขนาดความสูงและความกว้างของลำตัว
  2. ลักษณะของเนื้อหน้าอกเดิม เช่น ความหย่อนคล้อย ความหนาของผิวหนัง และไขมันบริเวณหน้าอก

ภาวะแทรกซ้อนหลังเสริมเต้านมอาการเป็นอย่างไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการเสริมเต้านม ได้แก่

  1. ปวด
  2. บวม
  3. แผลอักเสบ ติดเชื้อ
  4. มีน้ำเหลืองหรือเลือดออกจากแผลผ่าตัด
  5. คลำได้ก้อนบริเวณหน้าอก
  6. ผลข้างเคียงจากยาสลบ ยาแก้ปวด เช่น คลื่นไส้ อาเจียน

ผลระยะยาวจากการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเกิดพังผืดหดรัด การเคลื่อนตำแหน่งของซิลิโคน  การหย่อนคล้อยของหน้าอก รวมทั้งการผิดรูป เช่น  แข็งตัวหรือเสียรูปทรง หรือการแตกของถุงซิลิโคน

ดูแลหลังเสริมเต้านมต้องทำอย่างไรบ้าง

การดูแลหลังเสริมเต้านม ประกอบไปด้วย

  • การดูแลแผลผ่าตัด ในช่วงสัปดาห์แรกสามารถอาบน้ำได้ เนื่องจากแพทย์จะทำการปิดฟิล์มกันน้ำ แต่หลีกเลี่ยงการลงไปแช่ในน้ำหรือว่ายน้ำในสระ หลังจากพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คและแผลหายดีแล้วจะมีการแนะนำให้ใช้ครีมทาแผลเป็นหรือแผ่นซิลิโคนปิดแผลเป็น
  • การดูแลหน้าอกหลังใส่ซิลิโคน แนะนำให้ใส่บราชนิดไม่มีโครงอย่างน้อย 1 เดือน หลีกเลี่ยงการกดทับหรือกระแทกบริเวณหน้าอก และการออกกำลังกายที่ใช้แขนมากในช่วง 1 เดือนแรก
  • การดูแลอื่น ๆ ได้แก่ งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ รวมทั้งของหมักดอง อย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  • การดูแลในระยะยาว หมั่นตรวจเช็คหน้าอกด้วยตัวเองและตรวจแมมโมแกรมตามกำหนด