ร่างกายจะมีกระบวนการสร้างผิวใหม่เพื่อทดแทนผิวเก่าที่ถูกทำลายไป ถ้าการสร้างผิวใหม่เป็นไปตามปกติผิวที่เกิดขึ้นใหม่ร่างกายสร้างผิวใหม่ในปริมาณมากเกินไปผิวในตำแหน่งนั้นก็จะเกิดนูนสูงขึ้นกว่าระดับของผิวข้างเคียงแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์มักมีอาการคันหรือรู้สึกแป๊บ ๆ ได้เป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดได้ เลเซอร์แผลเป็นนูน ซึ่งความรู้สึกที่ว่านี้มักเป็นในระดับน้อยและไม่รุนแรง และหายไปได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้ามีอาการคันหรือปวดมาก แพทย์มักให้การรักษาตามอาการเป็นครั้ง ๆ ไป
แผลเป็นมีกี่ชนิดแบบไหนบ้าง
แผลเป็นมีหลายรูปแบบ แต่แผลเป็นที่ถือว่าผิดปกตินั้นจะแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
- แผลเป็นที่โตนูน แผลเป็นที่โตนูนมี 2 แบบคือ
- แผลเป็นนูนเกิน หรือ hypertrophic scar : เป็นแผลเป็นที่โตนูน แต่ไม่เกินขอบเขตของแผลเดิมในระยะแรกจะมีลักษณะนูน แดง คัน
- แผลเป็นคีลอยด์ : เป็นแผลเป็นที่โตนูน และขยายใหญ่เกินขอบเขตของแผลเดิมไปมาก
- แผลเป็นที่ลึกบุ๋มลงไปที่เรียกว่า depressed scar มีลักษณะเป็นร่อง หรือรูบุ๋มลึกลงไปใต้ผิวหนัง
- แผลเป็นที่มีการหดรั้งร่วมด้วย เรียกว่า scar contracture : แผลเป็นชนิดนี้จะดึงรั้งอวัยวะบริเวณแผลให้ผิดรูปได้
แผลเป็นทั้งสามลักษณะนี้อาจจะมีผิวสีซีดที่เรียกว่า hypopigmentation หรือผิวสีเข้ม hyperpigmentation ก็ได้
แผลเป็นคีลอยด์เกิดจากอะไร
แผลเป็นคีลอยด์ แต่พบว่ามักจะเกิดในผู้ป่วยที่มีผิวสีเข้ม ในตำแหน่งที่เกิดได้บ่อย ได้แก่ หัวไหล่ ติ่งหูและกลางหน้าอก ส่วนหนึ่งพบในผู้ป่วยที่มีประวัติทางพันธุกรรม คือ มีประวัติการเกิดคีลอยด์ในพ่อหรือแม่ แผลเป็นคีลอยด์นี้เชื่อว่าเกิดจากการที่แผลเป็นมีการสร้างสารที่เรียกว่าคอลลาเจนมากเกินกว่าปกติ
เราจะป้องกันได้อย่างไร
การป้องกันการเกิดแผลเป็นเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการที่มีแผลใหม่ ๆ เราจะเริ่มโดยการแนะนำให้ผู้ป่วยนวด หรือการกดบริเวณนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วการนวดอย่างสม่ำเสมอในระยะประมาณ 3-6 เดือนแรก เป็นเรื่องสำคัญ และจะช่วยให้แผลเป็นนั้นลดการขยายตัวและนูนเกินได้ ในบางครั้งแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่กว้าง
แผลเป็นที่เกิดจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก อาจจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษหรือผ้ารัดหรือ pressure garment นี้จะต้องสวมใส่เพื่อที่จะรัดบริเวณที่เกิดแผลเป็น เช่น ใบหน้า ลำตัว และแขน ขา ในช่วงระยะประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปีแรกหลังจากได้รับอุบัติเหตุ การนวดก็จะสามารถลดการเกิดแผลเป็นได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นในช่วงระยะแรกที่แผลเป็นมีการอักเสบอยู่ การนวดก็จะช่วยลดไม่ให้แผลเป็นมีการขยายใหญ่โตได้
แผลเป็นรักษาให้หายได้จริงหรือ
ถ้าหากบาดแผลในตอนแรกอยู่ในชั้นหนังกำพร้าหรือชั้นหนังแท้ตอนบน การสมานแผลอาจเกิดเต็มร้อยและไม่เหลือร่องรอยของแผลเดิม เรียกว่า “ไม่มีแผลเป็น” แต่บาดแผลในระยะแรกลึกถึงชั้นหนังแท้ตอนล่าง มักจะเกิดแผลเป็นตามมา แผลเป็นเป็นคือรอยจารึกที่เกิดตามหลังการเกิดบาดแผลบนผิวหนัง หลายท่านยังเข้าใจผิดว่าแพทย์สามารถรักษาแผลเป็นให้หายสนิทและเรียบเนียนเหมือนผิวหนังปกติได้ ที่จริงแล้วแผลเป็นคือรอยแผลที่เป็นถาวรและไม่สามารถรักษาให้กลับเป็นเหมือนผิวปกติได้แน่นอน แต่อาจสามารถทำให้แผลมีขนาดเล็กลงหรือมีสีใกล้เคียงกับผิวหนังปกติได้
เลเซอร์รักษาแผลเป็นนูนได้หรือไม่
เลเซอร์ดาย์ (pulsed dye laser) เป็นวิธีการรักษาแผลเป็นนูนและคีลอยด์ชนิดหนึ่ง เลเซอร์สามารถช่วยให้แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ราบลงได้ในระดับหนึ่งแต่มักจะไม่ราบสนิท และแผลเป็นมีโอกาสที่จะกลับนูนขึ้นมาอีกเช่นกัน เพราะเชื่อว่าแสงเลเซอร์ชนิดนี้จะไปทำลายหลอดเลือดที่มาเลี้ยงแผลเป็นทำให้แผลเป็นฝ่อลง แต่จากการศึกษาในผู้ป่วยคนไทยที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลพบว่าผลการรักษาแผลเป็นนูนด้วยเลเซอร์ดาย์ในคนไทยไม่ดีเท่ากับผล
การรักษาในฝรั่งผิวขาว ซึ่งอาจเป็นเพราะแสงเลเซอร์ไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปในผิวได้ดีเท่าฝรั่งผิวขาว ในทางปฏิบัติแพทย์มักรักษาแผลเป็นนูนโดยใช้เลเซอร์ควบคู่ไปกับการการฉีดยาเข้าไปการรักษาด้วยเลเซอร์ดายเป็นวิธีการที่ง่ายและไม่เจ็บ ความรู้สึกขณะเลเซอร์จะคล้ายถูกดีดด้วยหนังยาง ไม่มีแผลหรือเลือดออก แต่อาจมีรอยช้ำคล้ายรอยห้อเลือดซึ่งจะจางหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ การรักษาต้องทำหลายครั้ง โดยเฉลี่ยประมาณเดือนละครั้ง ติดต่อกัน 4-6 เดือน