เลเซอร์รอยแดง

เลเซอร์รอยแดง จากสิวทำได้กี่วิธี

การทำเลเซอร์ ก็คือคลื่นแสงที่มีพลังงานเข้มข้นสูง โดยที่ความยาวของคลื่นแสงนั้นอาจจะอยู่ในช่วงของแสงยูวี (Ultraviolet light) ซึ่งแสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Visible light) หรือแสงอินฟราเรด (Infrared light) และเลเซอร์ รอยแดง การรักษาผิวด้วยเลเซอร์ควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อผลลัพธ์ที่ดีสุด โดยจำนวนครั้ง ความถี่ และผลลัพธ์ของการรักษาจะแตกต่างกันไปตามปัญหาผิวของแต่ละบุคคล

เลเซอร์ผิวหนังสามารถแบ่งตามชนิดของกลุ่มโรค ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 5 กลุ่ม มีอะไรบ้าง

เลเซอร์เป็นจุดเล็ก ๆ ยิงไปที่บริเวณแผลเป็นคีลอยด์ ซึ่งรูมีขนาดเล็กมากเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 150-200 ไมครอน ทำให้เจ็บน้อยและไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการรักษาด้วยสเตียรอยด์อย่างที่ผ่านมา เพราะต้องปักเข็มทุก 1-2 เซนติเมตร แล้วเดินยาไปเรื่อย ๆ และต้องฉีดเดือนละครั้งติดต่อกันหลายเดือน

  1. เลเซอร์ที่ใช้พลังงานความร้อนไปทำลายเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น กระเนื้อ ไฝธรรมดา หรือขี้แมลงวัน 
  2. เลเซอร์ที่ไปทำลายเม็ดสีหรือสีผิวที่ผิดปกติ เช่น คนที่เป็นกระแดด กระลึก หรือเป็นปานสีเทาสีน้ำเงิน ที่เรียกว่า ปานโอตะ ซึ่งยังสามารถลบรอยสัก ยิงรอยสักได้ด้วย 
  3. เลเซอร์รักษาเส้นเลือดที่ผิดปกติ ทำให้เราเห็นผิวตรงนั้นนูนหรือแดงขึ้น หรือที่เราเห็นเป็นปานแดงหรือบางคนที่เป็นปานสตรอเบอร์รีที่เป็นก้อนแดง ๆ นูนขึ้นมา จะใช้เลเซอร์รักษาความผิดปกติของหลอดเลือดขึ้นมารักษา โดยสามารถรักษาเส้นเลือดฝอยที่หน้า หรือบางคนใช้เลเซอร์กลุ่มนี้รักษาแผลเป็นนูน ไปทำลายท่อน้ำเลี้ยงของแผลเป็นนูน ให้แผลเป็นนูนฝ่อ  
  4. เลเซอร์กำจัดขน โดยแสงจะลงไปที่รากขนของมันเอง ไม่ต้องจี้ทีละเส้น เลเซอร์กลุ่มนี้สามารถทำให้จำนวนเส้นขนลดลงไปในช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวหลังการยิงติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง
  5. เลเซอร์กลุ่มปรับสภาพผิวชนิดไม่มีแผล หรือเรียกว่าเลเซอร์กระตุ้นคอลลาเจน กลุ่มนี้นำไปใช้ในการรักษาริ้วรอย หรือกระชับรูขุมขนเป็นแบบที่ไม่มีแผล หลักการคือให้แสงลงไปที่หนังแท้ส่วนต้น เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจนใหม่ เหมาะกับการลบริ้วรอยและรักษาแผลหลุมตื้น ๆ

ชนิดของเลเซอร์ที่ใช้ในการดูแลผิวพรรณ

เลเซอร์ที่นำมาใช้ในการรักษาผิวมีหลายรูปแบบ โดยชนิดของเลเซอร์ที่พบบ่อยมีดังนี้

เลเซอร์พัลส์ดาย (Pulsed Dye Laser: PDL)

จุดเด่น ช่วยรักษาความผิดปกติของเส้นเลือดในรูปแบบต่างๆ โดยไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง ในขณะเดียวกันแสงเลเซอร์ยังผ่านไปยังผิวชั้นในเพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ริ้วรอยลดลงได้อีกด้วย

แก้ปัญหาผิว ปานแดงจากเส้นเลือด แก้ปัญหาเส้นเลือดฝอยขยาย ฝ้าเส้นเลือด แผลเป็นนูน หรือคีลอยด์ (Keloid) สิว สิวอักเสบ รอยแดงจากสิว และรอยสักสีแดง

เลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) หรือ CO2 laser

จุดเด่น มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำในชั้นผิวหนังได้ดี เมื่อฉายแสงเลเซอร์ CO2 ไปที่ผิวหนังจะทำให้เกิดการตายของหนังกำพร้า และเกิดการแยกตัวของชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ ทำให้รอยโรค เช่น กระ หรือขี้แมลงวันที่อยู่บนชั้นหนังกำพร้าถูกกำจัดออกไป

แก้ปัญหาผิว กระ จุดด่างดำ ขี้แมลงวัน ริ้วรอยบนใบหน้า รอยตีนกา รอยย่น แผลเป็น เนื้องอกบางชนิด ติ่งเนื้อ รอยสิว และหลุมสิว

เลเซอร์เออร์เบี่ยมแย็ก (Erbium:YAG Laser)

จุดเด่น มีแสงความยาวคลื่น 2940 นาโนเมตร มีคุณสมบัติคล้าย CO2 laser เเต่ใช้เวลาในการฟื้นฟูผิวน้อยกว่า

แก้ปัญหาผิว นิยมใช้ในการกรอผิวหน้าด้านบนในส่วนของผิวหนังกำพร้าออกจะทำให้บริเวณนั้นเรียบขึ้น ลบรอยแผลเป็น หลุมสิว ริ้วรอย รวมทั้งยังสามารถใช้เพื่อกำจัดไฝ ขี้แมลงวัน กระเนื้อ และหูดได้

เลเซอร์ในกลุ่มคิวสวิตซ์ (Q-Switched)

เลเซอร์ในกลุ่ม Q-Switched เป็นเลเซอร์ที่มีคณสมบัติในการทำลายเม็ดสีที่ผิว โดยที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อย เหมาะสำหรับใช้ในการรักษากระ ปานดำ ไฝ รอยสักสีดำ และกำจัดขนได้ในบางชนิด

เลเซอร์ในกลุ่ม Q-Switched มี 3 ชนิด แต่ละชนิดมีความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน โดยยิ่งมีความยาวคลื่นมากเท่าไหร่ก็จะส่ามารถส่งผลต่อเม็ดสีในชั้นผิวได้ลึกเท่านั้น มีรายละเอียดดังนี้

  1. Q-Switched ruby laser มีความยาวคลื่น 694 นาโนเมตร เป็นชนิดที่สามารถนำไปใช้ในการกำจัดขนได้ด้วย
  2. Q-Switched alexandrite laser มีแสงความยาวคลื่น 755 นาโนเมตร
  3. Q-Switched ND:Yag laser มีแสงความยาวคลื่น 532 และ 1064 นาโนเมตร